เมนู

3. ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5. วิจิกิจฉา ความสงสัย

[284] โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5


1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน
2. วิจิกิจฉา ความสงสัย
3. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือด้วยศีล หรือพรต
4. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
5. พยาบาท ความคิดแก้แค้นผู้อื่น

[285] อุทธัมภาคียสังโยชน์ 5


1. รูปราคะ ความติดใจในรูป
2. อรูปราคะ ความติดใจในอรูป
3. มานะ ความถือตัว
4. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน
5. อวิชชา ความไม่รู้.

[286] สิกขาบท 5


1. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม
4. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการดื่ม





น้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท.

[287] อภัพพฐาน 5


1. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
2. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์อันเป็นส่วนแห่งความ
เป็นขโมย
3. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
4. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
5. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสม บริโภคกาม
เหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่.

[288] พยสนะ 5


1. ญาติพยสนะ ความฉิบหายแห่งญาติ
2. โภคพยสนะ ความฉิบหายแห่งโภค
3. โรคพยสนะ ความฉิบหายเพราะโรค
4. สีลพยสนะ ความฉิบหายแห่งศีล
5. ทิฏฐิพยสนะ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่Iญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะ
ฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะ
เหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฏฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.

[289] สัมปทา 5


1. ญาติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยญาติ